ประเทศไทย
08 มีนาคม 2567 - 14 มีนาคม 2567หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง โดยบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง ขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนหนักบางพื้นที่ส่วนมากในระยะกลางช่วง ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดช่วง ส่งผลให้มีฝนตกบางพื้นที่
ลักษณะอากาศรายภาค
08 มีนาคม 2567 - 14 มีนาคม 2567ภาคเหนือ
มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วงกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะต้นช่วง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ในระยะต้นและกลางช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 11-12 มี.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
55.0 มม. ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอตรอน อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 11 มี.ค. | 40.5 º ซ. ที่ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 8 มี.ค. |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
90.0 มม. ที่ อ.หนองบุนนาก จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 8 มี.ค. | 38.3 º ซ. ที่ อ.เมือง และ อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 8 มี.ค. |
ภาคกลาง
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 8 และ วันที่ 10 มี.ค. โดยในวันที่ 12 มี.ค. มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
53.4 มม. ที่ อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 12 มี.ค. | 40.6 º ซ. ที่ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 8 มี.ค. |
ภาคตะวันออก
มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
90.6 มม. ที่ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 8 มี.ค. | 38.8 º ซ. ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 8 มี.ค. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีอากาศร้อนบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในวันที่ 9-10 และวันที่ 12 มี.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
24.6 มม. ที่ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 9 มี.ค. | 39.6 º ซ. ที่ กกษ.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 14 มี.ค. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในระยะต้นและปลายช่วง
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
17.5 มม. ที่ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เมื่อวันที่ 9 มี.ค. | 38.7 º ซ. ที่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 13 มี.ค. |
กรุงเทพและปริมณฑล
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
9.4 มม. ที่ สำนักงานเขตหนองจอก เขตหนองจอก เมื่อวันที่ 11 มี.ค. (14.2 มม. ที่ กกษ.ปทุมธานี อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 12 มี.ค.) | 37.7 º ซ. ที่ ท่าอากาศยานดอนเมือง เขตดอนเมือง เมื่อวันที่ 14 มี.ค. (38.2 º ซ. ที่ กกษ.ปทุมธานี อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 8 มี.ค. และ ที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 14 มี.ค.) |
ออกประกาศ 15 มีนาคม 2567 11:40 น.