ประเทศไทย
08 เมษายน 2567 - 14 เมษายน 2567บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. แล้วอ่อนกำลังลง ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเมียนมาและภาคเหนือตอนบนในช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ อีกทั้งมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลางในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนและฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาคจากอิทธิพลของลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน
ลักษณะอากาศรายภาค
08 เมษายน 2567 - 14 เมษายน 2567ภาคเหนือ
มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 9 วันที่ 10 วันที่ 12 และวันที่ 14 เม.ย. นอกจากนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดพะเยา เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ลำพูน ตาก แม่ฮ่องสอน น่าน ลำปาง พิษณุโลก พิจิตร เชียงราย และแพร่ ในระหว่างวันที่ 8-14 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
60.0 มม. ที่ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 10 เม.ย. | 43.0 º ซ. ที่ อ.เมืองตาก จ.ตาก เมื่อวันที่ 9 เม.ย. |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปในวันแรกและในระยะปลายของสัปดาห์ ส่วนวันอื่นๆ มีอากาศร้อน โดยมีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 9-10 เม.ย. มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 9 วันที่ 10 และวันที่ 14 เม.ย. นอกจากนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดสกลนคร บุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม บึงกาฬ หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี และชัยภูมิ ในระหว่างวันที่ 8-9 เม.ย. และจังหวัดเลย ในวันที่ 14 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
74.6 มม. ที่ อ.คำตากล้า จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 14 เม.ย. | 42.0 º ซ. ที่ กกษ.สุรินทร์ อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 8 เม.ย. |
ภาคกลาง
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 10 เม.ย. นอกจากนี้มีรายงานพายุฤดูร้อนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรีและสระบุรี ในวันที่ 12 เม.ย. และจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 13 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
41.1 มม. ที่ นิคมสร้างตนเองกระเสียว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 10 เม.ย. | 42.5 º ซ. ที่ อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 8 เม.ย. |
ภาคตะวันออก
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในวันที่ 8 วันที่ 12 และวันที่ 13 เม.ย. โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
22.0 มม. ที่ อ.คลองหาด จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 14 เม.ย. | 40.3 º ซ. ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 8 เม.ย. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
27.6 มม. ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 10 เม.ย. | 40.3 º ซ. ที่ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 14 เม.ย. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
12.0 มม. ที่ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา เมื่อวันที่ 12 เม.ย. | 39.9 º ซ. ที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. |
กรุงเทพและปริมณฑล
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นบริเวณจังหวัดปทุมธานีในวันที่ 8 วันที่ 9 วันที่ 11 และวันที่ 13 เม.ย. โดยมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ในวันที่ 10 และวันที่ 12 เม.ย. กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 10 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
8.9 มม. ที่ รร.วัดทองใน เขตสวนหลวง เมื่อวันที่ 10 เม.ย. (36.0 มม. ที่ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 10 เม.ย.) | 39.0 º ซ. ที่ ท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย เมื่อวันที่ 11 เม.ย. (40.6 º ซ. ที่ กกษ.ปทุมธานี อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 11 เม.ย.) |
ออกประกาศ 15 เมษายน 2567 11:21 น.