ลักษณะอากาศทั่วไป
12 พฤษภาคม 2566
ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
อนึ่ง พายุไซโคลน “โมคา”บริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเมียนมาในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค. 66 ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 12-14 พ.ค. 66 บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 16 พ.ค. 66
ออกประกาศ 12 พฤษภาคม 2566 07:00 น.
พยากรณ์อากาศสำหรับเรือเดินทะเล เรือในราชนาวีและเรือทำการประมง
อ่าวไทยทั้งสองฝั่ง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณอ่าวไทยตอนบน
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 6-16 นอต หรือ 10-30 ชม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกา
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ทะเลอันดามันตอนบน : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 11-18 นอต หรือ 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ทะเลอันดามันตอนล่าง : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 8-18 นอต หรือ 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
เส้นทางเดินเรือโกตาบารูถึงสิงคโปร์
เมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 6-16 นอต หรือ 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ปลายแหลมญวน
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 6-16 นอต หรือ 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ออกประกาศ 12 พฤษภาคม 2566 07:00 น.