ลักษณะอากาศทั่วไป
13 ก.ค. 2568รูปภาพ:
แผนที่อากาศ
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน หนองคาย และบึงกาฬ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศกรุงเทพฯ และปริมณฑล
06:00 น. วันนี้ - 06:00 น. วันพรุ่งนี้
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 13 กรกฎาคม 2568 12:00
สภาพอากาศรายจังหวัดเพิ่มเติม
อากาศ 7 วัน ข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 13- 19 กรกฏาคม พ.ศ. 2568คาดหมาย
ในช่วงวันที่ 13 - 18 ก.ค. ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน หลังจากนั้นในวันที่ 19 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออกมีฝนตกหนักมากบางแห่ง
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนในช่วงวันที่ 13 – 15 และ 19 ก.ค. มีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 18 ก.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดจากฝั่งในช่วงวันที่ 13 – 15 และ 19 ก.ค.
ออกประกาศ 13 ก.ค. 2568
อากาศ 7 วัน ที่ผ่านมา
4 กรกฎาคม 2568 - 10 กรกฎาคม 2568คาดหมาย
ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันแรกของช่วง
โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนเกือบตลอดช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง
ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง
กับมีรายงานน้ำท่วมบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค
ออกประกาศ 11 ก.ค. 2568
ข้อมูลย้อนหลัง
อากาศรายเดือน
กรกฎาคม 2568คาดหมาย
ช่วงต้นและกลางเดือน ปริมาณและการกระจายของฝนยังคงมีน้อย โดยจะมีฝนร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ และจะก่อให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยยังคงมีกำลังอ่อน จากนั้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง กับจะมีฝนหนักถึงหนักมากในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันตก เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทย จะกลับมามีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สรุปเดือนนี้ คาดว่าปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่จะใกล้เคียงถึงมากกว่าค่าปกติเล็กน้อยประมาณร้อยละ 5 เว้นแต่ ภาคเหนือ ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 10 และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 5 ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยยังคูงสูงกว่าค่าปกติ
ออกประกาศ 01 กรกฎาคม 2568